ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ผลิตขึ้นมาในโลกนี้ มีกี่ประเภทกันแน่

Last updated: 24 พ.ย. 2566  |  43 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ผลิตขึ้นมาในโลกนี้ มีกี่ประเภทกันแน่

รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) Battery Electric Vehicle : รถยนต์ประเภทนี้จะใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เพียงอย่างเดียว เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่มีการปล่อยไอเสียออกมาเลย เนื่องจากเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และใช้พลังงานแบตเตอรี่ไฟฟ้าเป็นหลัก โดยรถยนต์ประเภทนี้ไม่มีเครื่องยนต์สันดาปภายใน และไม่มีการปล่อยไอเสียจากท่อไอเสีย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังช่วยลดมลภาวะที่เกิดจากฝุ่น PM 2.5 ได้อีกด้วย ซึ่ง BYD จะเป็นรถในประเภทนี้

รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด (HEV) Hybrid Electric Vehicle : รถยนต์ไฮบริด เป็นรถยนต์ที่มีทั้งมอเตอร์ไฟฟ้า ลูกผสม (Hybrid) และเครื่องยนต์สันดาปภายใน แต่ไม่สามารถเสียบปลั๊กได้ แต่จะใช้มอเตอร์ไฟฟ้าจะทำหน้าที่เป็น Generator และเปลี่ยนพลังงานจลน์กลับคืนเป็นพลังงานไฟฟ้าเข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ได้ โดยเราเรียกกระบวนการนี้ว่า Regenerative braking ซึ่งความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจะต่ำกว่ารถยนต์ปกติ รวมทั้งยังสามารถนำพลังงานกลที่เหลือ หรือไม่ใช้ประโยชน์เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บในแบตเตอรี่ได้ แต่ไม่มีช่องเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จไฟฟ้า

รถยนต์ประเภทปลั๊กอินไฮบริด (PHEVs) Plug-in Hybrid Electric Vehicles : รถยนต์ประเภทปลั๊กอินไฮบริด นั้นมีความคล้ายคลึงกับรถยนต์ไฮบริด (Hybrid) แต่จะแตกต่างกันตรงที่รถยนต์ประเภทนี้ สามารถที่จะชาร์จไฟฟ้าจากภายนอกได้ รถยนต์ประเภทนี้จะมีทั้งมอเตอร์ไฟฟ้า และเครื่องยนต์ สามารถทำงานในโหมดไฟฟ้าล้วน อาศัยแบตเตอรี่ หรือเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์เบนซิน เมื่อแบตเตอรี่หมด การอัดประจุไฟฟ้าจากภายนอก และนำมาเก็บไว้ที่แบตเตอรี่นั้น ทำให้ PHEV สามารถวิ่งได้ในระยะทางที่ไกลกว่า HEV รถประเภทนี้จะเพิ่มระบบเสียบปลั๊กชาร์จไฟขึ้นมาด้วย (plug-in)

รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) Fuel Cell Electric Vehicle : รถยนต์ประเภทนี้ใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า มีการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อน เพียงแต่แหล่งพลังงานนั้นมาจากพลังงานของก๊าซไฮโดรเจน โดยก๊าซไฮโดรเจนจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศที่เซลเชื้อเพลิง ทำให้ได้พลังงานส่งกำลังให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าใช้ในการขับเคลื่อน แต่อย่างไรก็ตาม FCEV ยังมีข้อจำกัดอย่างสถานีเชื้อเพลิงไฮโดรเจน (Hydrogen Fuel Station) ปัจจุบันยังมีน้อยอยู่นั่นเอง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้